อื่นๆ

ชื่อพันธุ์ : ส้มโอทับทิมสยาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus Maxima
แหล่งที่ค้นพบ : นครศรีธรรมราช
ชนิดพืช : ไม้ผล
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ :
ต้น : ไม้พุ่มขนาดกลาง ขนาดพุ่ม 4 – 6 เมตร สูง 5 – 6 เมตร ใบ : ใบค่อนข้างยาวรีกลางใบจะกว้าง ปลายใบแหลม ใต้ใบมนเล็กปกคลุม ผล : ผลสีเขียวนวลอมเหลียง เปลือกบาง สีชมพูเข้มคล้ายสีทับทิมอมกึ่งสีแดง รสชาติหวานหอมและนุ่ม


ชื่อพันธุ์ : มะปรี้ด (ส้มมะปี๊ด)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus madurensis Lour.,Citrus mitis Blanco.
ชื่ออื่นๆ : ส้มมะปี๊ด (ใช้เรียกทั่วไป) กากั๊ด กิมกิด (ชาวจีน) ส้มเกล่า (จ.ระนอง)
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : ลักษณะทรงพุ่มและลำต้นส้มจี๊ด เป็นไม้พุ่มขนาดกลางเมื่อมีอายุ 4-5 ปี ขึ้นไป มีความสูงจากพื้นดินถึงยอดอยู่ระหว่าง 1.25– 2.70 เมตร ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่โคนใบมน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ใบอ่อนจะมีสีเหลืองอ่อน เมื่อใบแก่จะมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก : ดอกออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่งและจะออกดอกพร้อมกับการแตกใบอ่อน ดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวมีสีขาวและมีกลิ่นหอม ผล : ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ผลอ่อนมีสีเขียวเข้มขนาดเล็ก ผลแก่จะมีสีเขียวปนเหลือง หรือสีเหลืองอมส้มหรือสีส้มเมื่อสุกมาก สีผิวผลจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเข้ม เป็นสีเขียวอมเหลือง หรือสีเหลืองเมื่ออายุผลมากขึ้น ระยะเวลาเริ่มออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลา ประมาณ 5 เดือน ผลแก่ที่เก็บเกี่ยวได้มีน้ำหนักผลระหว่าง 10–20 กรัม

ชื่อพันธุ์ : เสม็ดแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium gratum
ชื่ออื่น : ผักเสม็ด, ผักเม็ก (นครราชสีมา) ไคร้เม็ด (เชียงใหม่) เม็ก (ปราจีนบุรี) เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช) เสม็ด (สกลนคร, สตูล) เสม็ด เขา, เสม็ดแดง (ตราด); เสม็ดชุน (ภาคกลาง) ยีมือแล (มลายู – ภาคใต้)
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ :ไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ  ใบ:  ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ออกที่ปลายยอด จะออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน ผล : กลม สีขาว มีขนาดเล็ก

ชื่อพันธุ์ : ละมุด กระสวยมาเลย์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ACHRAS SAPOTA LINN.
ถิ่นกำเนิด : มีถิ่นกำเนิด จากประเทศมาเลเซีย
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-7 เมตร กิ่งก้านมีน้ำยางสีขาว ลักษณะใบ : ใบเดี่ยวออกบริเวณปลายยอด เป็นรูปรี เนื้อใบหนาแข็ง ดอก : ออกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองนวล ผล : รูปกลมรีและยาว หัวท้ายผลแหลม ผลมีขนาดใหญ่ ผิวผลเรียบและมีขุยเล็กน้อย ผิวผลเป็นสีน้ำตาลตั้งแต่ผลยังมีขนาดเล็ก จนถึงผลสุก เปลือกผลบาง เนื้อสุกแน่นแข็งกรอบแม้สุกงอม เนื้อไม่เละ รสชาติหวานจัดกรอบ รับประทานอร่อยมาก

ชื่อพันธุ์ : มังคุดเสียบยอด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia Mangostana Linn. Guttiferae 
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : เป็นผลไม้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชินีแห่งผลไม้ เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร ยางสีเหลือง ลักษณะใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน เนื้อใบหนา หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ออกดอกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกสีแดง ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม เปลือกนอกค่อนข้างแข็ง แก่เต็มที่มีสีม่วงแดงและดำ จะมียางสีเหลือง

ชื่อพันธุ์ : มะพร้าวน้ำหอมเตี้ย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera L
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : ใบ มีทางใบสั้นแผ่กระจายรอบลำต้น เมื่อมองทรงพุ่ม จากภายนอกจะคล้ายรูปวงกลม ผล มีผลโตสม่ำเสมอทั้งทะลาย น้ำหนักผลประมาณ 900 กรัมต่อผลผลยาวรี น้ำ : มีรสหวานและกลิ่นหอม เนื้อนุ่มรสชาติกลมกล่อม ต้น : ลำต้นตั้งตรง แข็งแรง อวบ ปล้องถี่ กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ก้านใบหรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว จั่นมะพร้าว (ช่อดอกมะพร้าว) ให้น้ำตาล จาวมะพร้าวใช้นำมาเป็นอาหารได้

ชื่อพันธุ์ : สะตอใต้ ติดตาเตี้ย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parkia speciose Hassk.
ชื่ออื่นๆ : กะตอ สตูล เรียกว่า ปาไต ยะลาจนถึงปัตตานี เรียกว่า ปะตา, ปัดเต๊าะ
ถิ่นกำเนิด : ภาคใต้ของประเทศไทยและแถบประเทศอินโดนีเซียมาเลเซีย
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : สะตอเป็นพืชไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร ในวงศ์ถั่ว ลักษณะกิ่งก้าน : มีขนละเอียด ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น จะออกช่อที่ปลายของกิ่ง เมล็ดของสะตอจะมีรูปร่างลักษณะกลมรีและแบนเรียงกัน ฝักอ่อนจะมีสีเขียว ฝักแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีดำ

ชื่อพันธุ์ : เงาะโรงเรียน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephelium lappaceum Linn.
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : เงาะเป็นไม้ขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้น : ลำต้นของเงาะมีเปลือกสีเทาอมน้ำตาล ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่าง แตกกิ่งจำนวนมาก ทำให้มองเป็นทรงพุ่มหนาทึบ ใบของเงาะเป็นใบประกอบ แตกออกตามปลายกิ่ง ใบทรงรูปไข่กลับหัว ขนาดใบประมาณ 4×15 ซม. ใบด้านบนมีสีเขียวอมน้ำตาล และเป็นมันเล็กน้อย แผ่นใบด้านล่างมีสีอ่อนกว่า ดอก : ดอกของเงาะออกเป็นช่อ แทงออกที่ส่วนปลายของกิ่ง แต่หากปลากิ่วหรือยอดกิ่งถูกทำลาย ช่อดอกจะแทงออกบริเวณตาข้างใกล้ส่วนปลายกิ่ง ผล : มีผลกลมรี เนื้อด้านในเป็นสีขาว เปลือกผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีแดงและมีเส้นขนสีแดง เปลือกด้านในจะมีสีขาว เมล็ด : มีลักษณะแบนและรี เป็นรูปไข่ มีเปลือกหุ้มเมล็ดบางๆสีน้ำตาล

ชื่อพันธุ์ : ขนุนทองประเสริฐ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ARTOCARPUS HETEROPHYLLUS LAMK.
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ ขนุนพันธุ์นี้ให้ผลเกือบตลอดปี ลักษณะผลทรงกลม ผิวสวย ผลใหญ่ มีน้ำหนักประมาณ 10-15 กิโลกรัม เนื้อ : มีสีเหลืองทอง เนื้อหนามีเนื้อมาก รสชาติหวานกรอบ ผลขนุนรับประทานได้ทั้งผลดิบและสุก ผลดิบหรือขนุนอ่อน นำไปประกอบอาหารได้ทางภาคเหนือ นำไปต้ม แกง หรือตำ ขนุนภาคอีสานนำไปทำแกงซุบขนุน (ซุบบักมี่) ผักจิ้มน้ำพริก – ผลสุกหรือขนุนแก่ ใช้รับประทานผลสด

ชื่อพันธุ์ : ขนุนทวายมาเลย์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ARTOCARPUS HETEROPHYLLUS LAMK.
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : ขนุนพันธุ์นี้ให้ผลเกือบตลอดปี เป็นขนุนที่มีผลขนาดใหญ่ โดยผลโตเต็มที่ 40 กิโลกรัม เนื้อขนุนมีสีเหลือง เนื้อหนากรอบ ลำต้นสูง 15-30 เมตร ใบ : ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบมีลักษณะกลมโค้งขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ใบเป็นมัน นิยมปลูกเพื่อนำไปแปรรูป และแกะผลออกขาย เพราะเนื้อขนุนเยอะมาก เมล็ดมีขนาดเล็กมีสีเหลืองออกส้ม

ชื่อพันธุ์ : ส้มโอขาวใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : PUMELO, SHADDOCK-CITRUS MAXIMA (BURM.F.) MERR (C.GRANDIS (L.)
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร กิ่งก้านมีขนและหนามแหลม ใบ : ลักษณะใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยใบเดียวออกเรียงสลับเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับปลายแหลม ท้องใบมีขนสั้นสีเขียวสด ดอก : ออกเป็นช่อกระจายที่ซอกใบและปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาวมีกลิ่นหอม ผล : รูปทรงกลมเนื้อขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีเมล็ดน้อย

ชื่อพันธุ์ : ส้มโอขาวแตงกวา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : PUMELO, SHADDOCK-CITRUS MAXIMA (BURM.F.) MERR (C.GRANDIS (L.)
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : ส้มโอขาวแตงกวาเป็นส้มโอพันธุ์ขึ้นชื่อของจังหวัดชัยนาท มีแหล่งกำเนิดที่จังหวัดชัยนาท เป็นพันธุ์ส้มโอที่มีรสชาติอร่อย มีเมล็ดน้อย ลำต้น : มีสีน้ำตาล มีหนามเล็กๆ สูงประมาณ 8 เมตร ใบ : เป็นแผ่นหนาสีเขียวเข้ม ดอก : ออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว ผล : ขนาดกลางกลมแป้น ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ผิวของผลไม่เรียบ ผิวของเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป เนื้อสีขาวภายในผลเป็นช่องๆ มีแผ่นบางๆ สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน

ชื่อพันธุ์ : เงาะสีทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nephelium lappaceum Linn.
ลักษณะประจำพันธุ์/ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีเปลือกลำต้นเป็นสีเทาเข้ม แตกกิ่งก้าน มีทรงพุ่มแผ่กว้างรูปครึ่งวงกลม มีความสูงของลำต้นประมาณ 15-25 เมตร ติดลูกง่าย ใบ : ลักษณะใบ : รูปทรงไข่กลับ ใบมีสีเขียวอมเหลือง ขอบใบเรียบ ด้านล่างของใบมีลักษณะเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งประมาณ 2-4 คู่ ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ผล : ลักษณะผลค่อนข้างกลม เปลือกหนาและเปลือกสีแดง เหลืองหรือชมพู เมล็ด : มีลักษณะเป็นรูปทรงแบนยาวรี หรือกลมคล้ายรูปไข่ มีเปลือกบางๆ สีน้ำตาลอ่อนห่อหุ้มผิวของเมล็ดอยู่